วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ตัวชี้วัด

 -ใช้ซอฟต์แวร์ในการทำงาน
สาระเรียนรู้แกนกลาง
 - ซอฟแวร์ระบบประกอบด้วยระบบปฏิบัติการโปรแกรมภาษาและโปรแกรมอรรถประโยชน์
 -ซอฟแวร์ประยุกต์ประกอบด้วยซอฟแวร์ประยุกต์ทั่วไปและซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
 -ใช้ซอฟต์แวร์ระบบในการทำงาน เช่น บีบอัด ขยาย โอนย่ายข้อมูล ตรวจสอบไวรัสคอมพิวเตอร์
 -ใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ในการทำงาน

ซอฟต์แวร์และการเลือกใช้
   ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า “ โปรแกรม ” ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วนก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมดังกล่าวใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ หรือหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน 
 อ่านเพิ่มเติม


วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558


1.ความหมายของซอฟต์แวร์      

 ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยภาษาของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้ อ่านเพิ่มเติม




2.ประเภทของซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ดูแลจัดการอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ (operating system) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลีนุกซ์ เป็นต้น
    คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้หากปราศจากระบบปฏิบัติการ ซึ่งทำหน้าที่ประสานงานระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ เราสามารถสั่งงานผ่านระบบปฏิบัติการให้คอมพิวเตอร์คำนวณ ให้แสดงภาพ ให้พิมพ์ข้อความหรือผลลัพธ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์ นอกจากนั้นคอมพิวเตอร์ยังทำหน้าที่ประสานงานระหว่างโปรแกรมต่างๆ กับตัวเครื่อง ซอฟต์แวร์ประยุกต์ไม่ว่าประเภทใดล้วนแต่ต้องทำงานบนซอฟต์แวร์ระบบทั้งสิ้น
    เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะไม่ทำงาน ถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการ การเริ่มใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกครั้งจึงต้องบรรจุ (load) ระบบปฏิบัติการเข้าไว้ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะให้เครื่องเริ่มทำงานอย่างอื่น

2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น เพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้า
คงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้น  การทำงานใดๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จำเป็นต้องทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมของซอฟต์แวร์ระบบด้วย ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสหรือวินโดวส์ เป็นต้น

       ซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้รับความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลายในทุกวงการ ความนิยมส่วนหนึ่งมาจาก ขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้นๆ เพราะซอฟต์แวร์ที่ผลิตออกจำหน่าย ต่างพยายามแข่งขันกันหลายๆ ด้าน เช่น เรียนรู้และใช้งานได้ง่าย สนับสนุนให้ใช้กับเครื่องพิมพ์ได้ดี มีคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ที่อ่านเข้าใจง่าย ให้วิธีหรือขั้นตอนที่อธิบายไว้อย่างชัดเจน และมีระบบโอนย้ายข้อมูลเข้าออกกับซอฟต์แวร์อื่นได้ง่าย




3.ซอฟต์แวร์ระบบช่วยในการทำงาน
    ซอฟต์แวร์ระบบ  คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระการแสดงผลบนจอภาพการนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้มการเรียกค้นข้อมูลการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดีคือระบบปฏิบัติการ เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลินุกซ์ เป็นต้น
     ระบบปฏิบัติการ
      ระบบปฏิบัติการ  เป็นซอฟต์แวร์ที่เอาไว้ใช้สำหรับควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตั้งแต่ซีพียู หน่วยความจำ ไปจนถึงส่วนนำเข้าและส่งออกผลลัพธ์  บางครั้งก็นิยมเรียกรวม ๆ ว่า แพลตฟอร์ม  คอมพิวเตอร์จะทำงานได้จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการติดตั้งอยู่ในเครื่องเสียก่อน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตเครื่องนั้น ๆ ว่าจะเลือกใช้แพลตฟอร์ม หรือระบบปฏิบัติการอะไรในการทำงาน เราจะพบเห็นระบบปฏิบัติการอยู่ในคอมพิวเตอร์แทบจะทุกประเภทตั้งแต่เครื่องขนาดใหญ่อย่างเครื่องเมนเฟรมจนถึงระดับเล็กสุด เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาประเภทพีดีเอ
     หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
 1.การจองและการกำหนดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์
 2.การจัดตารางงาน
 3.การติดตามผลของระบบ
 4.การทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน
 5.การจัดแบ่งเวลา
 6.การประมวลผลหลายชุดพร้อมกัน

     ตัวอย่างระบบปฏิบัติการที่สำคัญควรรู้มีดังนี้
         1.ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์ วินโดวส์(Microsoft Windows) เป็นการพัฒนาจาก บริษัทไมโครซอฟต์ เพื่อใช้กับเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer: PC) ซึ่งคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีโปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) ในการทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆ ของเครื่อง และอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งมีคุณสมบัติและประสิทธิภาพที่สูงขึ้น จากระบบ Windows XP โดยต้องเตรียมคุณสมบัติ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เตรียมฮาร์ดดิสก์ (การแบ่งพาร์ติชัน) การฟอร์แมต แล้วจึงติดตั้ง ระบบปฏิบัติการ Windows Vista ได้ ซึ่งระบบปฏิบัติการต่างๆ ที่ทางไมโครซอฟท์ ได้ออกแบบมา ต้องสัมพันธ์กันกับ อุปกรณ์ภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย ไม่เช่นนั้น การทำงานของระบบอาจ ไม่มีประสิทธิภาพพอ




  
     2.  ระบบปฏิบัติการแมคอินทอช (Macint  Operating System) ที่แนะนำในปี 2527 โดย Apple Computerเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรุ่นแรกที่เป็น graphical user interface (GUI) รุ่นแรกที่ขายอย่างกว้างขวาง Mac ได้รับการออกแบบที่ให้ผู้ใช้ด้วยการอินเตอร์เฟซแบบธรรมชาติ เข้าใจได้ตามสัญชาติญาณและโดยทั่วไป เป็นมิตรกับผู้ใช้ความคิดการอินเตอร์เฟซกับผู้ใช้จำนวนมากใน Macintosh มาจากการทดลองที่ห้องปฏิบัติการ Xerox Park ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 รวมถึงเมาส์ ใช้ไอคอนหรือภาพมองเห็นได้ขนาดเล็กเพื่อนำเสนออ๊อบเจคหรือการกระทำ การกระทำชี้-และ-คลิก และ คลิก-และ-ลาก และความคิดระบบปฏิบัติการจำนวนหนึ่ง Microsoft ประสบความสำเร็จในแนวคิดการปรับปรุงการอินเตอร์เฟซแรกทำให้นิยมโดย Mac ในระบบปฏิบัติการแรก


   
        3.ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (Linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมมากเช่นเดียวกัน พัฒนาขึ้นมาโดย ลินุส ทอวาลดส์ (Linux Torvalds) ชาวฟินแลนด์ ลินุกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะคล้ายกับยูนิกซ์ แต่มีขนาดเล็กกว่า ในช่วงแรกเป็นการพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคลเท่านั้น แต่ในช่วงหลังความนิยมในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายเพิ่มสูงขึ้น จึงมีผู้พัฒนาส่วนประกอบอื่นๆ ของลินุกซ์เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานทางด้านเครือข่ายมากขึ้น


  4. ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซร์ฟเวอร์   ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ Network Operating Syste
โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการบริหาร จัดการเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายและการใช้ทรัพยากรต่างๆ บนเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์, ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น สำหรับ Windows Server 2003 เป็นระบบปฏิบัติการสําหรับเครือข่าย (NOS)  ที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ (Microsoft)โดยออกแบบและพัฒนาความสามารถต่าง ๆมาจากระบบปฏิบัติการ Windows 2000 Server และยังเพิ่มความสามารถใหม่ ๆเข้าไปอีกหลายอย่าง ด้วยกัน



  5.ระบบปฏิบัติการปาล์ม ( Palm OS) มีจุดกำเนิดบนเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ ที่มีความต้องการทรัพยากรต่ำ มีความ  สามารถไม่สูงมากนัก แต่มีความสะดวกในการใช้งาน คล่องตัว และสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องได้



    6.ระบบปฏิบัติการซิมเบียน (Symbian OS)        ระบบปฏิบัติการ Symbian คือระบบปฏิบัติการที่ออกแบบ ขึ้นมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย และออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ในงานกับโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหลัก ในการรับ ส่งข้อมูล เป็นระบบที่ใช้งานง่าย ประหยัดพลังงาน ใช้หน่วยความจำขนาดเล็ก และมีความปลอดภัยสูง ทำให้เหมาะที่จะนำมา ใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่